หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

ความหลากหลายของพรรณไม้ในสังคมป่าชายน้ำในพื้นที่อุทยานวังตะไคร้ จ.นครนายก

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในสังคมป่าชายน้าในพื้นที่อุทยานวังตะไคร้ จ. นครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบความหลากหลายของพรรณพืชที่ขึ้นอยู่ริมลาน้า ในอาณาบริเวณอุทยานวังตะไคร้ โดยการวางแปลงตัวอย่างสาหรับเก็บข้อมูลพืช จานวน 8 แปลง กระจายตามชั้นคุณภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ คือ ลาคลองตะเคียน 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณที่ไม่มีกิจกรรมการท่องเที่ยว และ บริเวณที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น วางแปลง ขนาด 20x50 เมตร 2 บริเวณละ 2 แปลง บริเวณที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแต่ไม่เข้มข้นนัก วางแปลงขนาด 20x40 เมตร2 และ 20 x 60 เมตร2 อย่างละ 1 แปลง และ ลาคลองมะเดื่อ วางแปลง ขนาด 20x50 เมตร 2 จานวน 2 แปลง จาแนกชนิดพืชทุกชนิดที่ปรากฎในแปลง และ วิเคราะห์ค่าดัชนีความสาคัญและค่าดัชนีความหลากหลายของพรรณไม้

ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 52 ชนิด โดยคลองตะเคียน บริเวณที่ไม่มีกิจกรรมการท่องเที่ยว พบพรรณไม้ 24 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.10 ไม้เด่น คือ ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) ไคร้น้า (Homonoia riparia Lour.) มะฝ่อ (Mallotus nudiflorus (L.) อบเชย (Cinnamomum iners Reinw. ex Blume) และเติม (Bischofia javanica Blume) คลองตะเคียน บริเวณที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น พบพรรณไม้ 28 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.56 ไม้เด่น คือ ไคร้น้า (Homonoia riparia Lour.) ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) ข่อยหนาม (Streblus taxoides (B. Heyne ex Roth) Kurz) สกุณี (Terminalia calamansanay (Blanco) Rolfe) และ ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) คลองตะเคียน บริเวณที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวไม่เข้มข้น พบพรรณไม้ 23 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากหลาย 2.85 ไม้เด่น คือ ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) เติม (Bischofia javanica Blume) ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa L. f.) ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don) และ ข่อย (Streblus asper Lour.) คลองมะเดื่อ เขตพื้นที่ไม่มีกิจกรรมการท่องเที่ยว พบพรรณไม้ 12 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากหลาย 1.71 ไม้เด่น คือ มะฝ่อ (Mallotus nudiflorus (L.) Kulju & Welzen) ไคร้ย้อย (Elaeocarpus grandiflorus Sm.) ไคร้น้า (Homonoia riparia Lour.) มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa L.)และ มะเดื่อหลวง (Ficus auriculata Lour.) ค่าดัชนีความคล้ายคลึง ระหว่างพื้นที่ต่างๆ พบว่ามีความคล้ายคลึงไม่ถึง 40 % ทุกพื้นที่ ผลจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการนาไปใช้หรือเป็นแบบอย่างในการจัดการพื้นที่ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางน้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

สถานที่พิมพ์

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักพิมพ์

ปีที่พิมพ์

ผู้ถือสิทธิ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright

ไฟล์ต้นฉบับ