หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

หมวดหมู่ผลงาน

บทคัดย่อ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติจะต้องสื่อสารและถ่ายทอดข้อความจากพิพิธภัณฑ์สู่สังคมในบทบาทที่แตกต่างจากเดิม เน้นการส่งเสริม สนับสนุน เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างทันเหตุการณ์ สร้างการรับรู้ และความตระหนักรู้คุณค่าในบางสิ่ง สร้างบทสนทนาและสื่อสารกับคนทั่วไป สร้างโอกาสและสนับสนุนให้ผู้เข้าชมสารวจตรวจสอบและสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารอย่างลึกซึ้งและเห็นคุณค่า

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้เชิงสังคม (Social Constructivism) และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by Doing) กรณีศึกษา โปรแกรมการเรียนรู้และกิจกรรมที่เน้นการให้ความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา ธรณีวิทยา โดยจัดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ผ่านกระบวนการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) และสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-observation)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ผ่านกิจกรรม Research show by naturalist และกิจกรรม คุย คิด (ด้วย) กัน Talk Thought Together มีความพึงพอใจเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรมในระดับมาก กิจกรรมดังกล่าวยังกระตุ้นความสนใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยากจะเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้รูปแบบอื่นของพิพิธภัณฑ์อีกด้วย จากการสังเกตและประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่ากิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้แบบก้าวหน้า สร้างแบบจาลองและความท้าทายในการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้น จุดพลังแห่งความอยากรู้ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

จากผลการศึกษานี้ทาให้เสนอแนะได้ว่า พิพิธภัณฑ์ควรมีกิจกรรมเชิงโต้ตอบที่ส่งเสริม discovery learning process ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับพิพิธภัณฑ์ ทาให้พิพิธภัณฑ์กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ควรมี ภัณฑารักษ์ นักวิชาการ นักพิพิธภัณฑ์ นักการศึกษา ร่วมพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ โดยนาเสนอความคิดและหัวข้อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา งานวิจัย ให้น่าสนใจอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ เพื่อให้การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิทรรศการและผู้เข้าชม ซึ่งเป็นประสบการณ์การเรียนรู้นอกเหนือจากสาระองค์วามรู้ที่นาเสนอผ่านนิทรรศการ

วันที่

4 - 5 สิงหาคม 2564

หน้า

66

สำนักพิมพ์

กรมทรัพยากรธรณี

ปีที่พิมพ์

แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright