หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

การสำรวจความหลากหลายของสังคมสัตว์ขาปล้อง ปัจจัยทางกายภาพและไมโครพลาสติกเบื้องต้นบริเวณเกาะยาว จังหวัดพังงา

บทคัดย่อ

จากการสํารวจภาคสนามการสํารวจความหลากหลายของสังคมสัตว์ขาปล้อง และปัจจัยทางกายภาพ พื้นที่บริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา ระหวางวันที่ 3-11 เมษายน 2564 พบสัตว์ขาปล้องทั้งหมดในบริเวณเกาะยาวน้อย 25 ชนิด จาก 24 วงศ์ 11 อันดับ และบริเวณเกาะยาวใหญ่ 45 ชนิด จาก 31 วงศ์ 13 อันดับ
จากการสํารวจยังพบสัตว์ขาปล้องเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจหลากหลายชนิด เช่น ด้วงเต่าลายตาข่าย (
Heteroneda reticulata) บึ้งแคระ (Phlogiellus moniqueverdezae) และแมงมุมปูแดงจิ๋ว (Misumenops nepenthicola) ซึ่งสามารถพบได้ในภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น โดยการสํารวจสัตว์ขาปล้องในพื้นที่เกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ พบว่ามีความแตกต่างกันในกลุ่มของแมลง ซึ่งบนเกาะยาวใหญ่พบแมลงที่เป็นศัตรูพืชอยู่มาก แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงของการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรของมนุษย์มากกวาเกาะยาวน้อยการตรวจวิเคราะห์ไมโครพลาสติกในน้ำและตะกอน พบว่าในพื้นที่เกาะยาวน้อยมีจํานวนไมโครพลาสติกในน้ำและตะกอนมากกว่าพื้นที่เกาะยาวใหญ่ เนื่องจากจำนวนประชากรในเกาะยาวน้อยมีมากกว่า และรูปร่างของไมโครพลาสติกที่พบมากทั้ง 2 พื้นที่คือรูปร่างเส้นใย ซึ่งรูปร่างเส้นใยนี้มีแหล่งกำเนิดจากตาข่ายสำหรับดักปลา อวน เชือก หรือมาจากเส้นใยผ้าจากการขาดหลุดของผ้าใยสังเคราะห์ผลการศึกษาของโครงการในครั้งนี้ทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้นยังไมครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลทางกายภาพและสิ่งมีชีวิตที่สํารวจในเบื้องต้นสามารถบ่งบอกได้ว่าในพื้นที่เกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ยังมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจและมีความสมบูรณ์อยู่มาก

หน้า

103-122

สำนักพิมพ์

K&K Center Group

ปีที่พิมพ์

แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright