ชื่อผลงานทางวิชาการ
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไดโนเสาร์เพื่อรองรับการเป็นอุทยานธรณี : กรณีศึกษาแหล่งภูเวียง ห้องเรียนท้องถิ่น บทเรียนจากมรดกทางธรณีวิทยา
ชื่อนักวิจัย
หมวดหมู่ผลงาน
ประเภทผลงาน
บทคัดย่อ
จากการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ สกุลใหม่ของโลกถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน สยามโมซอรัส สุธีธรนิ สยามโมไทรัสนัส อิสานเอนซิส กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส และ ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ นามาสู่การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงธรณี ในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น ให้เป็น “มหานครแห่งการท่องเที่ยวและเรียนรู้ไดโนเสาร์ระดับโลก” เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้กับชุมชนท้องถิ่นก่อเกิดความยั่งยืนได้ พร้อมทั้งได้จัดให้มีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณี นั่นคือ อุทยานธรณีขอนแก่นสร้างให้ชุมชนมีบทบาทสาคัญในการดูแล และให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ซึ่งการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่าซากดึกดาบรรพ์กลุ่มไดโนเสาร์ทาหน้าที่กระตุ้นการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือนาเข้าสู่บทเรียนทางด้านบรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยาได้เป็นอย่างดี และยังถูกนามาใช้เป็นเครื่องมือในการทาความเข้าใจเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ทฤษฎีวิวัฒนาการ
ชื่องานประชุมวิชาการ
สถานที่
วันที่
สำนักพิมพ์
กรมทรัพยากรธรณี
ปีที่พิมพ์
แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ
ผู้ถือสิทธิ์
เงื่อนไขการใช้ข้อมูล
Copyright