หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนแออัดสู่ชุมชนบ้านมั่นคงกรณีศึกษาบ้านล่างพูนทรัพย์ ชุมชนย่อยที่ 10 เทศบาลเมืองจันทบุรี

ชื่ออื่นๆ

Factors Associated to the Successes of the Development of a Slum to the Secure Community: A case study of Baan Man Khong: A case Study of Baan Man Khong Communities Chuntaburi Municipality

ชื่อนักวิจัย

หมวดหมู่ผลงาน

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนแออัดสู่ชุมชนบ้านมั่นคง ของชุมชนบ้านล่างพูนทรัพย์ ชุมชนย่อยที่ 10 เทศบาลเมืองจันทบุรี โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (mixed method) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครัวเรือนผู้อาศัยในชุมชนบ้านล่างพูนทรัพย์ จำนวน 65 ครัวเรือน และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (deep analysis) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้อาศัยในชุมชน และแบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้อาศัยในชุมชนมีอัตราส่วนเพศใกล้เคียงกัน มีอายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ เข้ามาอยู่ในชุมชนระหว่าง 30-39 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 3-4 คน ลักษณะของครัวเรือนเป็นครอบครัวเดี่ยว รายได้หลักของครัวเรือนอยู่ระหว่าง 201-300 บาทต่อวัน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนบ้านมั่นคง บ้านล่างพูนทรัพย์ คือ ผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การเรียนรู้ของชุมชน ศักยภาพของคนในชุมชน การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ แนวทางการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่สามารถดำเนินการได้ คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการบ้านมั่นคง ควรกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้มีการเปลี่ยนแปลงตามความคาดหวังของคนในชุมชน การส่งเสริมการประกอบชีพที่มีรายได้ที่มั่นคง และส่งเสริมการออมให้ครบทุกครัวเรือน การส่งเสริมการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า และ การมีส่วนร่วม ความสามัคคี ความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือน

A descriptive research was conducted to study factors associated with the successful of the development of a slum area to a secure community (Baan Man Khong Project, sub3community the tenth, Municipal Chantaburi). The data were collected by both qualitative and quantitative as method from a sampling group which was the residence living within Baan Lang Poon Sap community. Total numbers of the participants were 65 households and depth interviews (deep analysis) from the main data of four key persons. The research tools which used for data collection consisted of questionnaire for households and in-depth interview form for key informants. The statistics used to analyze data are frequency, percentage, mean and standard deviation and correlation. The results demonstrated that the households living with the community have a similar sex ratio and aged between 50-59 years of primary education. Mostly residents have been staying within the community area between 30-39 years ago. Most of the households have members between 3 and 4 people as a single family. Main family income is between 201-300 bath per day. The factors which related to success in the development of the community security “Baan Lang Poon Sap” were the community’s leader, participation of the households, learning abilities of the community, potential of the community and the support of the government. The development guideline of the community that suite to the community context was the responsible agency for the security community “Baan Lang Man Khong project”. The agency should guide the development of the community to change according to the expectations of the households. To give example are life promotion with stable income, to promote money saving for all households, to promote good health, participation and the harmonize relationship between family.

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright

ไฟล์ต้นฉบับ