ชื่อผลงานทางวิชาการ
รายงานการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนไทย
ชื่อนักวิจัย
หมวดหมู่ผลงาน
ประเภทผลงาน
บทคัดย่อ
ความตระหนักทางวิทยาศาสตร์
(public awareness of science) เป็นดัชนีหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความพร้อมของประชากรของประเทศในการสร้างเสริมและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงการดำเนินการของประเทศในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย หรือที่ เรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิต ว่าสามารถดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความรู้
ปลูกฝังระบบการคิด รวมทั้งสร้างให้ประชาชนเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจติดตามความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
รายงานฉบับนี้แสดงและอภิปรายผลการสำรวจข้อมูลเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย อายุ 15-24 ปี จำนวน 3,062 คน ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มที่อยู่ในการศึกษาสายสามัญ การศึกษาสายอาชีพ
ระดับอุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบ จาก 5 ภูมิภาค คือ
ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี) โดยดำเนินการสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน
พ.ศ. 2560 และสำรวจความตระหนักฯ ใน 5 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
(พฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ทัศนคติด้านวิทยาศาสตร์ การมีส่วนร่วมด้านวิทยาศาสตร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจ
สำนักพิมพ์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ปีที่พิมพ์
ผู้ถือสิทธิ์
เงื่อนไขการใช้ข้อมูล
Copyright