หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวประเภทพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษา : พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9

ชื่อนักวิจัย

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

ในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวประเภทพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness To Pay : WTP) ของประชาชนที่มีต่อพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 รวมทั้งการศึกษาว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่าย และประเมินมูลค่าออกมาในรูปของตัวเงิน (Monetary Value) โดยใช้วิธี การตั้งสถานการณ์สมมติ หรือที่เรียกว่า (Contingent Valuation Method :CVM) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อหาความเต็มใจที่จะจ่ายของประชาชน ประกอบไปด้วย ความเต็มใจที่จะจ่ายในรูปของค่าธรรมเนียมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ (Admission Fee) ส าหรับผู้ที่ใช้ประโยชน์โดยตรง (Users) จำนวน 250ตัวอย่างและความเต็มใจจะจ่ายที่มีต่อพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9ในรูปของเงินบริจาค (Donation) เพื่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 สำหรับผู้ที่มิได้ใช้ประโยชน์ (Non-Users) จำนวน 250 ตัวอย่าง

จากการประมาณการค่าความเต็มใจจะจ่ายเฉลี่ยที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 (WTP) ของกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (Users) พบว่ามี 3 ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับค่าความเต็มใจจะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือราคาเริ่มต้น (BID) มีความสัมพันธ์กับค่าความเต็มใจจะจ่ายในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่อราคาเสนอเริ่มต้นเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าความเต็มใจจ่ายลดลงซึ่งเป็นไปตามกฎของอุปสงค์, เพศ (MALE) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าความเต็มใจจ่าย กล่าวคือเพศชายมีความเต็มใจที่จะจ่ายน้อยกว่าเพศหญิง และระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (INC) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่าความเต็มใจจ่าย กล่าวคือ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจะท าให้ค่าความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อคำนวณค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ย (Mean WTP) พบว่าค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ยที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 เท่ากับ 274.40 บาท /คน/ครั้งเดียว ซึ่งคำนวณมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ได้เท่ากับ 222,389,126.40 บาท

จากการประมาณการค่าความเต็มใจจะจ่ายเฉลี่ยเพื่อให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 (WTP) ของกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (Non-users) พบว่ามีตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับค่าความเต็มใจจะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (INC) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่าความเต็มใจจ่าย กล่าวคือ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจะทำห้ค่าความเต็มใจจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อคำนวณค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ย (Mean WTP) พบว่า ค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ยเพื่อให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 (WTP) ของกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มิได้ใช้ประโยชน์ (Non-users) เท่ากับ362.43 บาท/คน/ครั้งเดียว ซึ่งคำนวณมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ได้เท่ากับ 1,425,433,203.27บาท

มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์รวมที่ได้ (Total Economics Value) เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 ที่สะท้อนมูลค่าทั้งในรูปของ Use value และ Non-use value มีค่าเท่ากับ 1,647,822,329.67 บาท เมื่อพิจารณาจากมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์รวมแล้ว แสดงถึงมูลค่าที่สังคมให้กับพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 โดยต้องการให้พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 9 เป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ และประโยชน์ทางด้านอื่นๆ อาจจะเป็นได้ทั้งการใช้ประโยชน์โดยตรงและ/หรือโดยอ้อม

สำนักพิมพ์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright