ชื่อผลงานทางวิชาการ
การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์ในบริบทนอกห้องเรียนของเยาวชนไทย
ชื่อนักวิจัย
หมวดหมู่ผลงาน
ประเภทผลงาน
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนากำลังคนของประเทศสู่สังคมนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนหรือการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญเพราะเป็นส่วนที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจ และเปิดโอกาสให้เยาวชนหรือประชาชนที่ไม่ได้เรียนในสายวิทยาศาสตร์หรือไม่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถติดตามข้อมูล และเรียนรู้เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ในบริบทนอกห้องเรียน ของเยาวชนไทยอายุระหว่าง 15-24 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเยาวชนทั่วประเทศ จำนวน 3,064 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51 ใช้เวลา ในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอกห้องเรียนเพียง 1-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และร้อยละ 28 ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยได้รับข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์มากที่สุด ขณะที่ Social media ที่นิยมมากที่สุด คือ Facebook ซึ่งเยาวชนร้อยละ 70 เห็นความจำเป็นของการมีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และร้อยละ 79 ระบุว่าติดตามและเรียนรู้ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ อยู่บ้าง โดยเยาวชนส่วนใหญ่เห็นว่าอุปสรรคในติดตามข้อมูลความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุดคือ 1) ข้อมูลเข้าใจยาก 2) ข้อมูลเป็นภาษาต่างประเทศ และ3) ข้อมูลไม่ตรงกับความสนใจ ตามลำดับ ทั้งนี้ เยาวชนส่วนใหญ่เห็นว่าข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ในภาพรวมยังมีน้อยเกินไป โดยเรื่องที่มีการสื่อสารค่อนข้างมากกว่าอย่างอื่นได้แก่เรื่องสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก การรักษาโรคและสุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานทดแทนและความหลากหลายทางชีวภาพตามลำดับ ขณะที่แหล่งข่าวด้านวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับเยาวชนคือนักวิทยาศาสตร์
ผลจากการวิจัยพอสรุปได้ว่าเยาวชนไทยเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีพฤติกรรมในการสนใจหาความรู้ใหม่ แต่มีข้อจำกัดคือข้อมูลที่มีอยู่เข้าใจยากหรือไม่สอดคล้องกับความต้องการ นอกจากนี้เยาวชนยังไม่สนใจเทคโนโลยีหลายเรื่องที่เชื่อมโยงกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงการจัดการศึกษาที่สนับสนุนการข้อมูลความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของเยาวชนให้มากขึ้นโดยคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน ผลวิจัยข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทยต่อไป
ชื่อวารสาร
ปีที่
10
ฉบับที่
2
หน้า
25-40
สำนักพิมพ์
สถาบันวิจัยญาณสังวร
ปีที่พิมพ์
แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ
ผู้ถือสิทธิ์
เงื่อนไขการใช้ข้อมูล
Copyright