ชื่อผลงานทางวิชาการ
ความหลากหลายของพรรณพืชในหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง
ชื่อนักวิจัย
หมวดหมู่ผลงาน
ประเภทผลงาน
บทคัดย่อ
โครงการสำรวจทรัพยากรพรรณพืชในหมู่เกาะมัน นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานสำรวจทรัพยากรชีวภาพบริเวณหมู่เกาะมัน
จังหวัดระยอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจพืชทุกชนิดพันธุ์ที่ขึ้นบนเกาะแห่งนี้ และให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างๆ
อันเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปสู่การจัดการเชิงอนุรักษ์พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ใช้ระยะเวลาในการสำรวจ
2 ปี โดยเดินสำรวจให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ ทั้งที่เป็นหาดทราย
โขดหิน และพื้นดินบนเกาะ เก็บตัวอย่างพืชทุกชนิดที่พบ บันทึกจำนวนประชากร จำแนกชนิด
และทำเป็นตัวอย่างอ้างอิงเก็บไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในอนาคต ผลจากการศึกษา พบพืช 214 ชนิด เป็นไม้ต่างถิ่นที่เข้ามาโดยความตั้งใจของมนุษย์
51 ชนิด ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ 141
ชนิด ไม้ประจำถิ่นที่ไม่เคยขึ้นในพื้นที่มาก่อนและนำเข้ามาปลูก 19
ชนิด และ ไม้ต่างถิ่นที่แพร่เข้ามาเองตามธรรมชาติ 3 ชนิด ทั้ง หมดนี้ มี กลุ่มที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า
50 ต้นถึง 61 % นอกจากนั้นยังมีไม้ต่างถิ่น
2 ชนิด คือ ผกากรอง Lantana camara L. และ
สาบเสือ Chromolaena odoratum (L.) R.M.King & H.Rob. ที่
แพร่เข้าสู่พื้นที่ได้เอง และมีจำนวนประชากรมาก และทั้งสองชนิดนี้ถูกจัดอยู่ในบัญชีไม้ต่างถิ่นรุกรานที่สำคัญ อาจต้องมีการควบคุมไม่ให้แพร่กระจายมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้มันไปรุกล้ำเข้าในเขต
ของไม้ประจำถิ่น ซึ่งในหมู่เกาะมันนี้พบไม้หายากหลายชนิด เช่น เข็มขาว Ixora
dolichophylla K. Schum. เป็นพืชถิ่นเดียวที่พบเฉพาะแถบภาคตะวันออก ได้แก่
ระยอง จันทบุรี และตราด และตามชายหาดพบไม้หายากอีกสองชนิดคือ เทียนเล Pemphis
acidula J.R. & G.Forst. และ หมันทะเล Cordia subcordata Lam.
หน้า
49-50
สถานที่พิมพ์
กรุงเทพ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่พิมพ์
แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ
ผู้ถือสิทธิ์
เงื่อนไขการใช้ข้อมูล
CC BY-NC-ND