หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

รายงานฉบับสมบูรณ์: การวิจัยศึกษาความตระหนักด้านพลังงานและความมั่นคงด้านพลังงานของเยาวชนไทย

ชื่ออื่นๆ

A Study on Energy and Security Understanding among Young Thai People

หมวดหมู่ผลงาน

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

การรณรงค์ให้ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องให้กับเยาวชนไทยซึ่งถือเป็นอนาคตของประเทศนับเป็นเรื่องสําคัญ ในการวัดความสําเร็จของการส่งเสริมความตระหนักด้านพลังงานของเยาวชนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ จําเป็นจะต้องมีเครื่องมือหรือการศึกษาความตระหนักด้านพลังงานของเยาวชนเพื่อเป็นข้อมูลเริ่มต้นสําหรับศึกษาความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงาน ทัศนคติด้านพลังงาน และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของความตระหนักด้านพลังงาน (Energy Literacy)  อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาถึงความตระหนักด้านพลังงาน (Energy Literacy) ของเยาวชนไทยมาก่อน การศึกษาในครั้งนี้จึงมีความตั้งใจที่จะทําการสํารวจความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน พลังงานสะอาด และความมั่นคงด้านพลังงาน                                             

กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาในครั้งนี้ คือ เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 ปี – 24 ปี จํานวน 1,600 คน จาก 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้โดยมีกลุ่มตัวอย่างในแต่ละภูมิภาค 400 คน เพื่อทําแบบสอบถาม และตัวแทนเยาวชน 20 คน เพื่อสัมภาษณ์ในการศึกษาครังนี้ได้ใช้วิธีวิจัยแบบ Mixed Method โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกลุ่มเป็นเครื่องมือในการศึกษา และได้ทําการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามด้วย Descriptive analysis และได้นํา Chi-square test, Independent T-test และ One-way ANOVA มาใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรม กับ เพศ กลุ่มเป้าหมายและภูมิภาคที่อาศัย

จากการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานของเยาวชน พบว่า เยาวชนที่สามารถตอบคําถามเกี่ยวกับพลังงานได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 83.8 และเมื่อพิจารณาผลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) พบว่า เยาวชนสามารถตอบคําถามได้โดยใช้พื้นฐานความรู้ที่มีอยู่เดิมซึ่งได้รับจากการศึกษาในโรงเรียนในการตอ[คําถาม อย่างไรก็ตาม เยาวชนส่วนใหญ่ ยังคงมีความสับสนเกี่ยวกับแหล่งพลังงานในบางประเด็น เช่น เยาวชนบางส่วนยังคงสับสนระหว่างแหล่งพลังงานหมุนเวียนกับพลังงานจากฟอสซิล และหลายคนเข้าใจว่าน้ํามันเบนซินคือเชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงพวกเขาหลายคนยังไม่แน่ใจว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากทุกแหล่งพลังงาน สามารถทําให้เป็นพลังงานสะอาดได้ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานของเยาวชนกับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ กลุ่มเป้าหมาย และภูมิภาคที่อาศัยอยู่ พบว่า ส่วนใหญ่ ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานของเยาวชนขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและภูมิภาคที่อยู่อาศัย ในขณะที่ ส่วนใหญ่ ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานของเยาวชนไม่ขึ้นอยู่กับเพศ

เมื่อพิจารณาผลที่ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับพลังงานของเยาวชน พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีมากต่อการอนุรักษ์พลังงานและตระหนักถึงความสําคัญและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติด้านพลังงานของเยาวชนกับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ กลุ่มเป้าหมาย และภูมิภาค ที่อยู่อาศัย พบว่า โดยส่วนใหญ่ความคิดเห็นหรือทัศนคติของเยาวชนเกี่ยวกัพลังงานไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ ในขณะที่ ความคิดเห็นหรือทัศนคติของเยาวชนเกี่ยวกับพลังงานขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย และภูมิภาคที่อยู่อาศัย จากการศึกษาครั้ง พบว่าเยาวชนไทยมีทัศนคติด้านพลังงานที่ตระหนักถึงความสําคัญของพลังงานและความมั่นคงของประเทศด้านพลังงานอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น การส่งเสริมให้เยาวชนได้มีบทบาทสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าอย่างจริงจัง ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้านพลังงาน เยาวชนจึงถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สําคัญสําหรับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานของประเทศ นอกจากนี้ จากการศึกษา พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยมากกับพฤติกรรมที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และพวกเขายินดีให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน

เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของเยาวชนกับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ กลุ่มเป้าหมาย พบว่า โดยส่วนใหญ่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของเยาวชนไม่ขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ ในขณะที่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของเยาวชนขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย และภูมิภาคที่อยู่อาศัย จากการศึกษาในครั้งนี้ จึงสรุปได้ว่า เยาวชนไทยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงาน และมีความคิดเห็นหรือทัศนคติด้านพลังงาน โดยพวกเขามีความตระหนักถึงคุณค่าและยินดีส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและยังให้ความสําคัญกับการประหยัดพลังงานในชีวิตประจําวันอีกด้วย

การส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับพลังงานนับเป็นเรื่องสําคัญ เนื่องจากความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานสําคัญในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักด้านพลังงานและนําไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ นอกเหนือจากเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของพลังงานซึ่งนําไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ย่อมส่งเสริมความเข้มแข็งและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

สถานที่พิมพ์

ปทุมธานี

สำนักพิมพ์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright