หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

การส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างวัยของสมาชิกในครอบครัว โดยใช้กิจกรรมพิพิธภัณฑ์เป็นฐาน

ชื่ออื่นๆ

Developing program to encourage the intergenerational experience learning among family members through museum-based activities

ชื่อนักวิจัย

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

ในโครงการย่อยที่ 2 นี้ มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับทุกคน ให้สามารถรองรับสมาชิกครอบครัวสามรุ่นให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อส่งเสริมการพูดคุย สนทนากัน และได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านจิตใจและอยู่ร่วมกันกับครอบครัวอย่างมีความสุข โดยพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัวโดยใช้พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นฐาน เพื่อให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันสำหรับสมาชิกสามรุ่นในครอบครัว (Three generation space) โดยใช้กิจกรรมและนิทรรศการมาช่วยส่งเสริมการสร้างบทสนทนาระหว่างวัย เพื่อให้ผู้สูงวัยและสมาชิกในครอบครัว ได้พูดคุย สนทนากันมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเป็นอำนวยกร (Facilitators) สำหรับการส่งเสริมการสานสัมพันธ์ของสมาชิกสามรุ่นในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 5 ประการได้แก่

  • เพื่อศึกษาการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัว ด้วยโปรแกรมสนับสนุนการเกิดบทสนทนาระหว่างวัย (Intergenerational Dialogues) ในบริบทของพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย
  • เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัวด้วยกิจกรรมสนับสนุนการเกิดบทสนทนาระหว่างวัย (Intergenerational Dialogues) ในพิพิธภัณฑ์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสนับสนุน (Facilitators) ให้มีความพร้อมในการสนับสนุนการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนในครอบครัว
  • เพื่อทดลองและประเมินผลของโปรแกรมส่งเสริมการเกิดบทสนทนาระหว่างวัย (Intergenerational Dialogues) ในพิพิธภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกต่างวัยในครอบครัว
  • เพื่อนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่ในการส่งเสริมการสร้างโอกาสในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนในครอบครัว
ในการศึกษาครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมายหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มครอบครัวที่มีสมาชิกสามรุ่น ได้แก่ ผู้สูงอายุ บุตร และหลาน โดยได้ทำการศึกษา 20 ครอบครัว จำนวน 96 คน และกลุ่มอำนวยกร ซึ่งเป็นอาสาสมัครและบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรอำนวยกร เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัว จำนวน 20 คน โดยทำการสำรวจกิจกรรมและนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และความต้องการของกลุ่มครอบครัวที่มีสมาชิกสามรุ่น ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพร้อมสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้น นำผลที่ได้มาออกแบบโปรแกรมสำหรับครอบครัว และพัฒนาหลักสูตรอำนวยกร แล้วจัดอบรมอาสาสมัครและบุคลากร และจัดกิจกรรมให้กับครอบครัว โดยนำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์มาใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลและสรุปผล

ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า การส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันโดยกำหนดภาระกิจหรือโจทย์ของกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและสมาชิกแต่ละวัยมีบทบาทสำคัญในแต่ละกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมการสร้างความมั่นใจและเกิดบทสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันและกัน ซึ่งช่วยส่งเสริมการเกิดบทสนทนาระหว่างวัยเพิ่มขึ้นเพื่อปฏิบัติภาระกิจให้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ส่งผลต่อข้อจำกัดด้านสุขภาพของผู้สูง อาจทำให้ผู้สูงอายุไม่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม

ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับครอบครัวสามรุ่น จากการศึกษา พบว่า องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัว ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ คือ (1) บริบทการเรียนรู้ (Context of learning) ได้แก่ กิจกรรมและนิทรรศการ พื้นที่จัดกิจกรรม และอำนวยกร (2) การสนทนาระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกต่างวัยในครอบครัว (Intergenerational Dialogue) และ (3) ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes) ได้แก่ ด้านร่างกาย (ทักษะ) ด้านจิตใจ (คุณค่าและทัศนคติ) และด้านสังคม (การสื่อสาร การแลกเปลี่ยน และการยอมรับความแตกต่าง) รวมถึงด้านการเรียนรู้ (กระบวนการคิดค้นหาคำตอบ กระบวนการแก้ไขปัญหา และความคิดสร้างสรรค์)

สถานที่พิมพ์

ปทุมธานี

สำนักพิมพ์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright