หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

การประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์ผลการวัดสัดส่วนมวลต่อประจุของอนุภาคที่มีประจุในทางสัตวโบราณคดีเพื่อการจำแนกชนิดด้วยลายพิมพ์คอลลาเจนในการศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม

ชื่ออื่นๆ

The Application of Zooarchaeology by Mass Spectrometry (ZooMS) Collagen Fingerprinting for the Species Identification in Marine Mammal Paleobiology

บทคัดย่อ

เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ลายพิมพ์คอลลาเจนด้วยวิธีแมสสเปกโตรเมทรี ที่อาศัยหลักการวิเคราะห์ตัวอย่างกลุ่มโมเลกุลของสารทางชีววิทยาโดยการทำให้สารตัวอย่างนั้นเกิดการแตกตัวเป็นประจุด้วยเทคนิคไอโอไนเซชันแบบอ่อนโยน แล้วคัดแยกด้วยค่ามวลต่อประจุ ซึ่งจะแสดงผลออกมาในรูปแบบของสเปกตรัมต่อมวลที่สามารถนำไปใช้หาน้ำหนักโมเลกุลของสารที่ต้องการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องต่อไป นั้น ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานศึกษาวิจัยด้านสัตวโบราณคดีเพื่อประโยชน์ในการจำแนกชนิดตามหลักอุกรมวิธาน เนื่องจากในบรรดาโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบและมีอยู่เป็นจำนวนมากในสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น คอลลาเจนที่พบได้ในเส้นเอ็น กระดูก ผิวหนัง ขน ระบบท่อลำเลียง รวมทั้งแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่รอบกล้ามเนื้อ จัดได้ว่าเป็นสารชีวโมเลกุลที่ไม่เพียงแต่จะมีคุณสมบัติโดดเด่นด้านความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบริเวณที่ฝังกลบหรือทับถม แต่ยังมีความผันแปรของลำดับกรดอะมิโนที่มากพอในการนำมาใช้จำแนกความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งที่มีความใกล้ชิดกันทางด้านพันธุกรรมในสายวิวัฒนาการและที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำเทคนิคดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังได้อีกทางด้วย เนื่องจากเทคนิควิธีนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในการศึกษาวิจัยด้านสัตวโบราณคดีและบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยมากนัก ในบทความนี้ จึงเป็นการทบทวนผลงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นถึงภาพรวม โดยเน้นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ผู้วิจัยให้ความสนใจศึกษา พร้อมนำเสนอข้อดีและข้อจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการศึกษาที่เคยมีมาในอดีต ตลอดจนแนวทางการประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย โดยยกตัวอย่างวาฬอำแพง (3,380+30 ปี) หมวดตะกอนดินเคลย์สมุทร (Shallow Marine Clay Formation) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องชนิดวาฬมาเป็นกรณีศึกษา 

สถานที่

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่

9 พฤษภาคม 2564

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปีที่พิมพ์

ผู้ถือสิทธิ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright