หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

โครงการชีพลักษณ์ของมะเดื่อ ไทรและความหลากชนิดของสัตว์ที่กินผลมะเดื่อไทรบางชนิด ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

โครงการศึกษาชีพลักษณ์ของมะเดื่อ ไทรและความหลากหลายของชนิดสัตว์ที่กินผลมะเดื่อไทรบางชนิดในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโครงการในปีที่ 2 ต่อเนื่องของโครงการความหลากชนิดของมะเดื่อ ไทร ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการศึกษาเน้นไปที่บทบาทของมะเดื่อ ไทรในระบบนิเวศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของต้นมะเดื่อไทรในรอบปีโดยเน้นหนักที่การออกดอกออกผล ชนิดสัตว์ที่กินผลของ มะเดื่อ ไทรเป็นอาหาร ตลอดจนปริมาณผลผลิตและรวมถึงปริมาณแร่ธาตุในผลของ มะเดื่อ ไทร ทั้งชนิดที่สัตว์กิน และชนิดที่มนุษย์กินเป็นอาหาร โดยมีกระบวนการศึกษาเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือ รายงาน ที่ปรากฏ หรือทาง อินเตอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลมาสรุปและวางแผนการปฏิบัติงานสารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม กาหนดมะเดื่อและไทรจานวน 7 ชนิด 98 ต้น เป็นมะเดื่อ 3 ชนิด คือ โพะ (Ficus obpyramidata King) ชิ้ง (Ficus fistulosa Reinw. ex Blume) เดื่อเพาะ (Ficus schwarzii Koord) ไทร 4 ชนิด คือ ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina L.) ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa Blume) ไทรชนิด Ficus caulocarpa (Miq.) Miq. และ ไทรชนิด Ficus sundaica Blume เฝ้าติดตามเก็บข้อมูล สารวจและเก็บข้อมูลช่วงเวลาการผลิดอก ออกผล อุณหภูมิและความชื้นบริเวณต้นที่เก็บข้อมูล ชนิดสัตว์ที่กินผลมะเดื่อ ไทร และเก็บผลมะเดื่อและไทรไปวิเคราะห์หาสารอาหารที่อยู่ในผล และนาข้อมูลไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาการออกดอกออกผลของมะเดื่อ ไทรกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ผลจากการศึกษา พบสัตว์ป่าที่กินผลของมะเดื่อไทร จานวน 20 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกที่มีขนาดเล็ก โดยมีกลุ่มนกปรอดมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มนกกาฝาก และมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่กิน คือ กระรอกปลายหางดา นอกจากนี้ยังพบว่ามะเดื่อที่เลือกมาศึกษาทั้ง 3 ชนิด ถูกมนุษย์นามาเป็นอาหาร ด้านคุณค่าทางโภชนาการปรากฏว่า โดยส่วนใหญ่ทั้งมะเดื่อและไทรมีปริมาณใกล้เคียงกัน ที่ต่างกันอย่างชัดเจนคือปริมาณพลังงานกลุ่มไทรให้พลังงานที่สูงกว่า ในส่วนของการออกผลพบว่า มะเดื่อ ไทรส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะออกผลตลอดทั้งปี ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น เป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับการศึกษาและการใช้ประโยชน์จากมะเดื่อ ไทรในระดับพื้นที่ หรือเป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับการที่จะจัดการพื้นที่หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ

สถานที่พิมพ์

ปทุมธานี

สำนักพิมพ์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright