หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

โครงสร้างทางสังคมของสัตว์ขาปล้องในดิน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

ชื่ออื่นๆ

Community Structure of Soil Arthropod Community in Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai Province

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาความมากมายของสังคมสัตว์ขาปล้องในดิน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความมากมายและกลุ่มสัตว์ขาปล้องในดินในป่าเต็งรัง ป่ารอยต่อ และป่าดิบเขา โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างดินในป่าเต็งรัง ป่ารอยต่อ และป่าดิบเขา ด้วย Soil cores ขนาดพื้นที่หน้าตัด 25 ตารางเซนติเมตร ลึก 4 เซนติเมตร จำนวน 20 ตัวอย่างในพื้นที่ขนาด 25 × 10 เมตร ทำการสำรวจภาคสนามทุกๆ 2 เดือน

การศึกษาพบสัตว์ขาปล้องในดินทั้งหมด 22 กลุ่ม ความมากมายเฉลี่ยทั้งพื้นที่ เท่ากับ 60,737.78 ตัว/ตารางเมตร สัตว์ขาปล้องในดินกลุ่ม Acari และ Collembola เป็นกลุ่มที่มีความมากมายสูงที่สุด เท่ากับ 12,970.37±2368.49 และ 4,902.22±824.82 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ รวมกันแล้วคิดเป็น 88.27 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ขาปล้องในดินทั้งหมด ป่าเต็งรังพบสัตว์ขาปล้องในดินมากที่สุด (21 กลุ่ม) ความมากมายของสัตว์ขาปล้องในดินเฉลี่ยมากที่สุดในป่ารอยต่อเท่ากับ 22,991.11±4539.30 ตัว/ตารางเมตร สัตว์ขาปล้องในดินกลุ่ม Acari (13,937.78±2347.81) และ Collembola (6,706.67±1139.53) พบมากทั้งป่าเต็งรัง (11,737.78±2261.68 และ 1,417.78±276.55 ตัว/ตารางเมตร) ป่ารอยต่อ (13,937.78±2347.81 และ 6,706±1139.53) และป่าดิบเขา (13,235.56±2495.99 และ 6,582.22±1058.38) ในฤดูแล้ง พบกลุ่มและความมากมายของสัตว์ขาปล้องในดินมากกว่าในฤดูฝน โดยฤดูแล้ง พบ 22 กลุ่ม (22,924.44±4567.44) และฤดูฝน พบ 18 กลุ่ม (17547.41±4103.10) ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าในทุกพื้นที่กลุ่มสัตว์ขาปล้องในดินที่สามารถครอบครองพื้นที่เป็นกลุ่มเด่น คือ Acari และ Collembola

การศึกษาในครั้งนี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพของป่าไม้

ชื่อวารสาร

ปีที่

36

ฉบับที่

1

หน้า

11-21

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปีที่พิมพ์

แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright