ชื่อผลงานทางวิชาการ
ความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา
ชื่อนักวิจัย
หมวดหมู่ผลงาน
ประเภทผลงาน
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายของเฟิร์นบริเวณเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่ อาเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 3 11 เมษายน 2564 โดยการสารวจและเก็บตัวอย่างมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเชิงปริมาณและลักษณะเชิงคุณภาพ พบเฟิร์นจานวน 32 ชนิด จาก 26 สกุล 18 วงศ์ ซึ่งวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae พบถึง 6 ชนิด ใน 5 สกุล เฟิร์นที่พบเป็นชนิดเด่นและพบบ่อยในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ Dicranopteris linearis (Burm. f.) Underw., Lindsaea ensifolia Sw., Lycopodiella cernua (L.) Pic. Serm., Taenitis blechnoides (Willd.) Sw., Pyrrosia adnascens (Sw.) Ching และ Lygodium microphyllum (Cav.) R. Br. เฟิร์นที่พบเจอได้ยากและมักจะกระจายพันธุ์อยู่ในป่าชายหาดและป่าชายเลน คือ ตาลมังกร (Myrmecophila sinuosa (Hook.) Nakai ex H. Itô) และตาลทราย (Schizaea digitata (L.) Sw.) เฟิร์นที่พบแต่ละชนิดนั้นสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ นามาเป็นอาหาร นาไปใช้ทาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน มีสรรพคุณในการรักษาโรค รวมทั้งเป็นไม้ประดับ
ปีที่
2022
ฉบับที่
4
หน้า
1-14
ปีที่พิมพ์
แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ
ผู้ถือสิทธิ์
เงื่อนไขการใช้ข้อมูล
Copyright