หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

พบการกระจายตัวของอึ่งกรายข้างแถบในภาคใต้ของไทย

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

อึ่งกรายข้างแถบ (Brachytarsophrys carinensis) เป็นกบที่มีลักษณะโบราณที่สุดของไทย จัดอยู่ในวงศ์ Megophryidae รู้จักเป็นครั้งแรกในชื่อ Leptobrachium carinensis ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่โดย G. A. Boulenger (1889) สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทย มีรายงานเขตการแพร่กระจายจากบริเวณทิวเขาที่ต่อเนื่องมาจากทิวเขาตะนาวศรี ทางด้านทิศตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนของพม่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพบลูกอ๊อดในลำธาร บริเวณป่าดิบชื้นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงเขตอำเภอ บ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การค้นพบครั้งล่าสุดโดยกลุ่มผู้เขียน ในวันที่ 22 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 21.20 น.ได้พบอึ่งกรายข้างแถบ 2 ตัว ในบริเวณห้วยเลข พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานัน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่พิกัด UTM X:568600 Y:980076 ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ  300 เมตร โดยสามารถจับมา บันทึกภาพและวัดขนาดได้ 1 ตัว คือตัวที่ได้เลขลำดับภาคสนาม (field number) 18506

ปีที่

1

ฉบับที่

1

หน้า

10-11

สำนักพิมพ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์

แหล่งทรัพยากรต้นฉบับ

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright

ไฟล์ต้นฉบับ