หมวดหมู่ผลงาน

สำนัก

ประเภทผลงาน

เจ้าของลิขสิทธิ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ

รายชื่อมดในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศไทย

ชื่ออื่นๆ

A list of Ants in Natural History Museum of the National Science Museum, Thailand

ชื่อนักวิจัย

ประเภทผลงาน

บทคัดย่อ

มดเป็นแมลงสังคมชั้นสูงหรือสังคมแท้จริง (Eusocial Insect) ที่สามารถพบได้ทุกแห่งหน อาศัยสร้างรังตั้งแต่ในดินจนกระทั้งบนต้นไม้สูง มีบทบาทเป็นผู้บริโภค (Consumer) หรือตัวห้ำ (Predator) ในระบบนิเวศ กินแมลงและสัตว์ขาข้อในดินขนาดเล็กชนิดอื่นเป็นอาหาร จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดสภาวะสมดุลภายในระบบนิเวศ จากบทบาทดังกล่าวสามารถนำมดมาประยุกต์ใช้สำหรับการควบคุมปริมาณแมลงศัตรูพืชให้น้อยลงโดยชีวะวิธี ช่วยลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอันที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง มดบางชนิดสร้างรังในดินหรือในขอนไม้ผุ จึงเป็นตัวการที่ช่วยปรับปรุงดิน และช่วยทำให้ขอนไม้ผุพังเร็วขึ้นก่อนที่เห็ดหรือเชื้อราเข้าย่อยสลายต่อไป การที่มดสร้างรังในดินจะทำให้ดินเกิดความพรุน สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซ และหมุนเวียนธาตุอาหารได้ดีขึ้น มดบางชนิดที่พบเฉพาะถิ่นสามารถให้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมได้

การใช้ประโยชน์จากมดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ การแพร่กระจาย ถิ่นอาศัย พฤติกรรม และบทบาทสำคัญในระบบนิเวศโดยละเอียดเป็นอันดับแรก เพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียของการใช้ประโยชน์จากมด การศึกษานี้จะทำให้ทราบความหลากชนิดและการกระจายของมดในประเทศไทย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อทราบชนิดและการแพร่กระจายของมดที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

2. เพื่อจัดระบบการจัดเก็บตัวอย่างมดให้ง่ายต่อการใช้ประโยชน์

สถานที่พิมพ์

ปทุมธานี

สำนักพิมพ์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ปีที่พิมพ์

เงื่อนไขการใช้ข้อมูล

Copyright

ไฟล์ต้นฉบับ
คำสำคัญ